งานวิจัยชนพื้นเมือง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่อยๆ พัฒนามาจากงานภายใต้โครงการนำร่องอันดามัน ที่เน้นเรื่องชาวเลมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ต่อมาเมื่อขยายงานไปยังชาวเลกลุ่มอื่นๆ และมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม จึงได้ตั้งกลุ่มวิจัยชื่อ “พลวัตวัฒนธรรมและชาติพันธุ์” ในปี พ.ศ. 2545
งานวิจัยชนพื้นเมืองมีความสำคัญมากขึ้นหลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 เมื่อผู้คนให้ความสนใจเรื่องชาวเลมากขึ้น ประกอบกับการวิเคราะห์ภาพรวมจุดแข็งและปัญหาชาวเลพบว่าเป็นปัญหาร่วมกับชนพื้นเมืองอีกหลายกลุ่ม จึงมีการตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยการดำเนินงานของหน่วยได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา
หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนามุ่งที่จะดำเนินงานศึกษาวิจัย รวมทั้งงานปฏิบัติการเกี่ยวกับชนพื้นเมือง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องทางเลือกการพัฒนา ผลักดันกระบวนการนโยบายที่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานที่เกี่ยวกับชนพื้นเมือง ที่เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมให้สาธารณชนตระหนักในคุณค่าของวิถีชนพื้นเมืองและความหลากหลายของวัฒนธรรมในสังคมไทย หรือกล่าวโดยย่อว่ามีพันธกิจเพื่อ “ศึกษาวิจัย ให้ข้อมูลความรู้ นำสู่นโยบาย สร้างเครือข่ายความร่วมมือ”
โครงการนำร่องอันดามัน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรคือ
- สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักงานที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ยูเนสโก กรุงเทพฯ
- โครงการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและเกาะขนาดเล็ก ยูเนสโก ปารีส
- สำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาลแห่งยูเนสโก
กิจกรรมของโครงการแบ่งออกเป็นช่วงๆในช่วงแรก (พ.ศ. 2540-2546) พื้นที่ศึกษาวิจัยและปฏิบัติการหลัก คือ หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เริ่มต้นตั้งแต่การสำรวจภาคสนาม การจัดประชุมระดมความเห็นระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภูมินิเวศ หมู่เกาะสุรินทร์และชุมชนมอแกน การประเมินสภาพทรัพยากรธรรมชาติและความรู้พื้นบ้านของชาวมอแกน การส่งเสริมการทำสื่อเพื่อหลักสูตรท้องถิ่นและการฟื้นฟูความรู้และทักษะเกี่ยวกับการต่อเรือและหัตถกรรม ฯลฯ
ต่อมาโครงการได้รับการสนับสนุนจากองค์การสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งสหรัฐฯ (พ.ศ. 2546-2548) ในการสำรวจสภาพเศรษฐกิจสังคมชุมชน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งทำให้ขยายพื้นที่วิจัยไปยังหมู่เกาะอาดัง-ราวีในจังหวัดสตูล
ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ (พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา) สังคมเริ่มตระหนักว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลมีอยู่จำกัด โครงการนำร่องอันดามันจึงเป็นแหล่งอ้างอิงที่สำคัญ เพราะการช่วยเหลือหลังสึนามิจะต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน ยิ่งไปกว่านั้นชุมชนยังเผชิญกับปัญหาสำคัญๆ หลายอย่าง เช่น การไร้รัฐ การไร้สิทธิในที่อยู่อาศัย การถูกจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพทางทะเล ความอ่อนแอของชุมชนในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม ฯลฯ
ช่วงหลังสึนามิ โครงการนำร่องอันดามันได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในการดำเนินงานฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมหลังเหตุการณ์สึนามิ และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรคอร์ดีโอ (CORDIO –Coral Reef Degradation in the Indian Ocean) ในการทำวิจัยเรื่องการสำรวจอาชีพทางเลือกและอาชีพเสริมแก่ชุมชนที่พึ่งพาทรัพยากรชายฝั่งทะเล
ในช่วงต่อมาเป็นการรวบรวมข้อมูลด้านสังคม-วัฒนธรรมเพื่อเสนอเป็นเอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative list) ของแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบวิถีแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” ในบริบทของชุมชนพื้นเมืองที่อยู่กับป่า (ชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านคลิตี้ล่าง จังหวัดกาญจนบุรี) และทะเล (ชาวมอแกน หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา) หลังจากนั้นก็มีงานศึกษาวิจัยและปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
งานวิจัยจากโครงการนำร่องอันดามันได้ชี้ให้เห็นว่า สังคมดั้งเดิมเช่นชนพื้นเมืองได้รับผลกระทบจากความซับซ้อนและความเสี่ยงของการพัฒนาที่ผ่านมา เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นชุมชนชายขอบที่ดำรงชีวิตโดยการพึ่งพาฐานทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก อีกทั้งยังไม่ได้รับการรับรองสิทธิในด้านต่างๆ ในขณะเดียวกัน ชุมชนเหล่านี้มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้ที่ยังไม่ได้มีการค้นคว้าวิจัยอย่างชัดแจ้ง ดังนั้น ทางเลือกการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของมนุษยชาติจะต้องอาศัยความรู้และปัญญาที่สังเคราะห์มาจากวิถีชุมชนดั้งเดิม
GETTING TO KNOW the “Research Unit on Indigenous Peoples and Development Alternatives”
Research Unit on Indigenous Peoples and Development Alternatives receives financial support from Rachadapisek Sompote Endowment Fund, Chulalongkorn University. The mission of this research unit is “Studying, disseminating, policy informing and networking”, that is, it aims at studying the issues and areas of indigenous peoples in order to gain deeper knowledge and understanding of indigenous peoples and development alternatives, to support policy formation and implementation on protecting cultural rights of indigenous peoples, and to participate in a collaborative network on protection indigenous peoples while creating more awareness on the issues. This will nurture a deeper appreciation of cultural diversity in Thailand.
“Expanding from THE ANDAMAN PILOT PROJECT to THE RESEARCH UNIT”
The Andaman Pilot Project, a joint project of several sectors within UNESCO, was initiated by the UNESCO Regional Advisor for Culture in Asia and the Pacific in collaboration with the UNESCO Coastal and Small Islands unit, the Intergovernmental Oceanographic Commission and the Chulalongkorn University Social Research Institute, Thailand.
In December 1997, a UNESCO representative, along with anthropologist Dr. Narumon Hinshiranan of the Chulalongkorn University Social Research Institute (CUSRI), traveled to the Andaman seacoast in Western Thailand to undertake a rapid appraisal of the issues affecting the Moken community living in the Surin Islands National Park. Subsequently, UNESCO organized a series of workshops to bring together concerned stakeholders with the objective of working together towards the protection of the natural and cultural heritage of the Moken and the Surin Islands. Dr. Narumon Hinshiranan, who has extensive experience working with the Moken, acted as a resource person and project coordinator in the pilot project.
The first workshop was held in Bangkok on 6 November 1998. Entitled ‘Identifying Participatory Development Options for the Moken of the Surin Islands’, the workshop brought together 33 participants to commence discussions on the issues affecting both the National Park and the Moken.
The second workshop, entitled ‘Towards the Strategic Goal of Sustainable Development for the Moken: Commitment and Support’ was held in the Surin Islands from 21-26 November 1998. The purpose of this workshop was to bring the various stakeholders together to meet with the Moken, to share ideas and find out the wants and needs of the indigenous population. It was also an opportunity for the various stakeholders to make commitments to the project and to determine what actions they would undertake to achieve the goal of sustainable development for the Surin Islands and its inhabitants.
This report is based on these workshops and the initiatives which arose from them. It also represents the conclusion of the first phase of the project and looks to the future of the Moken, the Surin Islands and the conservation of the entire Andaman seacoast.
The Andaman Pilot Project may also be adapted to the needs of other countries. Across the region, finding sustainable solutions that benefit indigenous communities, the environment and national tourism and development objectives has become a priority and regional governments are very interested in the outcome of this project. The Andaman Pilot Project will not only help ensure the sustainable development of the Moken and the long-term conservation of the Surin Islands but could also serve as a model for the region.