งานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล

งานฟื้นฟูวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ดำเนินงานภายใต้ชื่อ “โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล” ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนรายปีต่อเนื่องจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  ทำให้สามารถจะขยายงานเก็บข้อมูลและทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการได้ในหลายชุมชน   งานส่วนใหญ่เป็นการเก็บข้อมูลประวัติชุมชนและส่งเสริมความตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น การทำประวัติและจุดสนใจชุมชน  การพัฒนาโปรแกรม “ชาวเลพาเที่ยว” การทดลองนำเที่ยว  การอบรมยุวมัคคุเทศก์ ฯลฯ ซึ่งนอกจากเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตแล้ว ยังสร้างความภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศชายฝั่งทะเล และเน้นย้ำหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาปัจจุบันที่ชุมชนกำลังเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอก

Cultural Revitalization is mostly carried out through the research projects on “Revitalizing of Chao Lay Ways of Life”.  The projects received yearly support from Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization) enabling continuous data collection and action research in several Chao Lay communities.  Most of the work focuses on documenting and analyzing community histories and promoting the awareness and appreciation on indigenous cultural values.  The activities include producing booklets on community histories and important places, developing cultural tourism programs, and training young tour guides, etc.  Apart from tangible outputs, the activities create sense of pride in Chao Lay cultural heritage that is closely related to coastal ecosystem.  It also affirms the principle of sustainable development for the communities that are facing rapid change from internal and external factors.

ประวัติ จุดสนใจ และเส้นทางเรียนรู้

ข้อมูลประวัติชุมชนและการเรียนรู้วัฒนธรรมจะเป็นหลักฐานสำหรับการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวมอแกน สร้างความภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมและสามารถจะพัฒนาไปเป็นเนื้อหาหลักสูตรท้องถื่นรวมทั้งนำไปสร้างเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้านนิเวศวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาปัจจุบันที่ชุมชนกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอกโดย ประวัติชุมชนและเส้นทางเรียนรู้วัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงาและจังหวัดสตูล