งานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

    • งานท่องเที่ยวเมฆาลัย-อินเดีย
    • งานท่องเที่ยวไทย-เมียนมา
    • งานท่องเที่ยวชาวเลกระบี่-อันดามัน
    • งานท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมน่าน

งานท่องเที่ยวเมฆาลัย-อินเดีย

“การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานของวัฒนธรรมแห่งการอนุรักษ์ เมฆาลัย-อุทัยธานี” การวิจัยชิ้นนี้ศึกษาแนวคิดและวัฒนธรรมแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งแฝงอยู่ในวิธีคิดและแนวปฏิบัติของชาวคาสีในเมฆาลัยและชุมชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงในจังหวัดอุทัยธานี รวมทั้งทำความเข้าใจวิถีปฏิบัติที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็เกิดการผสมผสานระหว่างวิถีดั้งเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับวิถีสมัยใหม่และความรู้จากภายนอก งานนี้ศึกษาการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนารูปแบบของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานของวัฒนธรรมแห่งการอนุรักษ์

หากสนใจอ่านฉบับเต็มสามารถติดต่อได้ที่หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 02-2187366

“Developing creative tourism on the basis of cultures of conservation” The Khasi community in Meghalaya and local communities in Thailand, especially the
Pwo Karen community in Uthai Thini Province of central Thailand, have many similar concepts of conservation which is ingrained in their ways of thinking and their practices. The research team will explore the issues of conservation ideas and practices and how conservation traditions could be revitalized and incorporated into current development. The result from this study are cultural interpretive materials and policy recommendations for creative sustainable tourism that is based on conservation thinking and practices derived from local traditions.

งานท่องเที่ยวไทย-เมียนมา

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “การเชื่อมต่อของการท่องเที่ยวในอาเซียน” (Tourism Connectivity in ASEAN) สนับสนุนโดยศูนย์อาเซียนศึกษาและสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561-2563 (2018-2020) ผลของการวิจัยคือหนังสือ “Between Two Seas: Travels from the Gulf of Thailand to the Andaman Coast” (บก.โดยสุภางค์ จันทวานิช) และคู่มือนำเที่ยวประจวบ-มะริด 3 ภาษาไทย (ไทย อังกฤษ และเมียนมา) พื้นที่รอยต่อบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา แถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่สืบสาวไปได้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย-อยุธยา และในแง่ของธรรมชาติแล้ว พื้นที่ยังมีความโดดเด่นในด้านภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลายของระบบนิเวศอินโด-หิมาลัย (Indo-Himalayan) และระบบนิเวศซุนดาอิก (Sundaic) คู่มือนำเที่ยวนี้ชวนให้ติดตามไปท่องเที่ยวสัมผัสร่องรอยประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม และธรรมชาติบนเส้นทางตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของไทย ข้ามแดนผ่านตะนาวศรี (Tanintharyi) ไปจนถึงมะริด (Myeik) จุดเริ่มในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีสถานที่ที่น่าสนใจซึ่งยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก และยิ่งเมื่อข้ามพรมแดนสู่ตะนาวศรีก็จะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์รวมทั้งวิถีวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมทั้งของผู้คนเชื้อสายไทยด้วย มะริดยังเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีหมู่เกาะที่ยังคงมีวิถีชนเผ่าเช่นมอแกน เส้นทางท่องเที่ยว “ข้ามสมุทร” นี้จึงเชื่อมโยงระหว่างการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์- วัฒนธรรมกับการให้ความสำคัญกับแหล่งธรรมชาติและการอนุรักษ์อย่างลงตัว

Thai-Myanmar Tourism Route

This work is part of the research on, "Tourism Connectivity in ASEAN” supported by the ASEAN Studies Center and the Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. The research resulted in a book, “Between Two Seas: Travels from the Gulf of Thailand to the Andaman Coast” (2021 -edited by Supang Chantavanich) and travel booklets on Prachuap-Myeik in 3 languages (Thai, English and Myanmar). Thailand and Myanmar share the peninsula, particularly around the Tanintharyi or Tanaosri region. The region has very unique bio-geography reflected by overlapping fauna and flora between the two main regions of Indo-Himalaya and Sundaic. Thus, the visit represents the experiences of connectivity. The travel booklets allow tourists to follow the lesser-known trail in Prachuab Khiri Khan and discover unexpected destinations along the journey. This trans-peninsula tourism will not only relive the forgotten history of cross-cultural activities but also pose great potential to connect tourist destinations management with nature conservation.

งานท่องเที่ยวชาวเลกระบี่-อันดามัน

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นแนวคิดที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนชาวเล เพราะก้าวพ้นไปจากกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว แต่เน้นการท่องเที่ยวเพื่อโอกาสพัฒนาพลังสร้างสรรค์ในเชิงความรู้ด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม ค้นหาแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ปฏิสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และสร้างความผูกพันกันระหว่างนักท่องเที่ยวและผู้คนในท้องถิ่น

งานท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมน่าน

หากสนใจอ่านฉบับเต็มสามารถติดต่อได้ที่หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 02-2187366