ชุมชนมอแกนและอูรักลาโว้ยกับพื้นที่คุ้มครอง

การประกาศแหล่งธรรมชาติเป็นพื้นที่คุ้มครองเป็นมาตรการหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ  แต่มิติทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่หรือโดยรอบพื้นที่ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน   หนังสือเล่มนี้นำเสนอผลจากการเก็บข้อมูลเชิงเศรษฐกิจสังคมของชุมชนมอแกนในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา และชุมชนอูรักลาโว้ยในหมู่เกาะอาดัง-ราวี   ซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงเศรษฐกิจและสังคมคือ  SocMon SEA (Socioeconomic Monitoring Guidelines for Coastal Manages in Southeast Asia)  ซึ่งเป็นแนวทางการเก็บข้อมูลและการสร้างตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยการสนับสนุนจากภาคีหลายภาคส่วน   การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบทำให้เข้าใจถึงสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจสังคมของชุมชน และติดตามประมวลผลกระทบจากการบริหารจัดการพื้นที่ต่อวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น  ข้อมูลสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นและความสัมพันธ์ต่อทรัพยากร อันจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและนักวางแผนได้ทราบถึงโอกาสและความท้าทายหรือความยากลำบากในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และสามารถจะริเริ่มแนวทางใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสภาวะของท้องถิ่นและมีแนวโน้มสู่ความสำเร็จ

นฤมล  อรุโณทัย, สุพิณ วงศ์บุษราคัม  และดิเรก อีไลอัส.  2549. ชุมชนมอแกนและอูรักลาโว้ยกับพื้นที่คุ้มครอง การเชื่อมโยงข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมของชุมชนกับการวางแผนการจัดการพื้นที่คุ้มครอง : กรณีชุมชนมอแกน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์  และชุมชนอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา. โครงการนำร่องอันดามัน กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาวน์โหลดเอกสาร