
เอกสารต้อยติ่ง หมายเลข 2 แนวทางแก้ไขปัญหาความมั่นคงของมนุษย์และชุมชน ได้ประมวลภาพรวมสถานการณ์ “ความไม่มั่นคง” ของชุมชนชาวเลในมิติต่างๆ อาทิ การเป็นบุคคลไร้รัฐ ความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย การขาดความมั่นใจและภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน เป็นต้น และมีข้อเสนอการใช้แนวคิดความมั่นคงของมนุษย์และของชุมชนมาเป็นฐานในการแก้ปัญหาของบุคคลและชุมชนชาวเล อาทิ แนวคิดเรื่องบัตรรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน กองทุนเสริมสร้างความมั่นคง และแนวคิดการจัดตั้งเขตสังคมและวัฒนธรรมพิเศษ
นฤมล อรุโณทัย, พลาเดช ณ ป้อมเพชร และจีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์. 2556. เอกสารหมายเลข 2: โครงการต้อยติ่งแนวทางแก้ไขปัญหาความมั่นคงของมนุษย์และชุมชน – พื้นที่นำร่องของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล โครงการนำร่องอันดามัน หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเพื่อนชนเผ่า. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)