พลวัตชาติพันธุ์ภาคใต้: ผู้คนและชุมชนบริเวณเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามัน

พลวัตชาติพันธุ์ภาคใต้: ผู้คนและชุมชนบริเวณเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามัน (SOUTHERN ETHNIC DYNAMISM: THE ANDAMAN LITTORAL AND MARINE POPULATIONS)

บทความเกี่ยวกับชาวเลและชุมชนชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะและชายฝั่งอันดามัน  แม้จะมีเส้นพรมแดนแบ่งกั้นประเทศ  แต่ทว่าผู้คนที่อยู่อาศัยในแถบนี้ต่างมีประวัติศาสตร์และติดต่อสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ  พลวัตชาติพันธุ์จะช่วยอธิบายความหมายของความเป็นชาติพันธุ์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะที่ยืดหยุ่นในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้  บทความต่างๆ ที่นำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยจากนักวิชาการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รวบรวมจากการจัดประชุม  สัมมนา การจัดนิทรรศการ อาทิ   การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชนมอแกนเกาะสุรินทร์ จ.พังงา  พัฒนาการและการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต   ความเปลี่ยนแปลงของบ้านและหมู่บ้านมอแกนที่หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ  และผลงานวิจัยจากสถาบันวิจัยเอเชียอาคเนย์ร่วมสมัย IRASEC  ได้แก่ “Ritual Structure of  Moklen Nomadism : Towards an understanding of the Social Integration of Maritime Societies in Southern Thailand”  เรื่อง Nomad versus Fishermen? Role and impact of the economic structures and inter-ethnic relations in the “recovery programs” และ “Roots of the Southern Regionalism” ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจความเป็นพลวัตของกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552. พลวัตชาติพันธุ์ภาคใต้: ผู้คนและชุมชนบริเวณเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามัน. สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเอเชียอาคเนย์ร่วมสมัย (IRASEC).

ดาวน์โหลดเอกสาร